สายงานต่างๆ ในด้านการแพทย์นั้นเป็นสายงานที่ทั้งเรียนและทำงานค่อนข้างหนัก อีกทั้งยังเป็นสายงานที่ต้องการบุคลากรจำนวนมากอยู่เสมอ โดยเฉพาะในประเทศไทยเองที่ก็ประสบกับปัญหาขาดบุลลากรเช่นเดียวกัน และได้มีการหารือและตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:1,200 คน ภายในปี 2576
แต่แม้ว่าจะต้องเรียนหนักหรือทำงานหนัก เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากก็ตั้งเป้าหมายมาดมั่นที่จะเข้าเรียนในสายนี้ และถ้าน้องๆ เป็นหนึ่งคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่อยากจะเรียนหมอแล้วก็ล่ะ คงเคยได้ยินคำว่าสอบ กสพท. กันดี แต่จะไม่ทำความรู้จักกับการสอบ BMAT ไม่ได้นะคะ เพราะ “ข้อสอบ BMAT” เป็น Admission Test อีกแบบหนึ่งที่ใช้ยื่นคะแนนเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ได้
BMAT คืออะไร?
BMAT ย่อมาจากภาษาอังกฤษเต็มที่ชื่อว่า The BioMedical Admissions Test (BMAT) ซึ่งก็คือ Admissions Test หรือ ข้อสอบเฉพาะทางเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ศาสตร์ สัตวแพทย์ศาสตร์ ทันตแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วแต่ว่ามหาวิทยาลัยใดเปิดรับในคณะใดบ้าง การสอบ BMAT เพื่อนำคะแนนไปยื่นเพื่อเข้าศึกษาต่อนี้นับเป็นโอกาสอีกช่องทางหนึ่ง สำหรับใครที่อยากเข้าคณะแพทย์ โดยไม่ต้องผ่านการสอบ กสพท.
ข้อสอบ BMAT เป็นข้อสอบที่ใช้เวลาสอบสองชั่วโมง การจัดสอบจัดทำโดย Cambridge Assessment แห่งสหราชอาณาจักร (UK) ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำหลายแห่งในสหราชอาณาจักร สิงคโปร์ โปร์แลนด์ สเปน มาเลเซีย ฯลฯ เปิดรับคะแนน BMAT เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สถาบันแต่ละที่ก็จะมีเกณฑ์ในการคัดเลือกและเปิดรับไม่เหมือนกัน
ในหลายปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยเริ่มเปิดรับคะแนน BMAT เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในรอบ Portfolio (TCAS1) นับเป็นอีกสนามการแข่งขันนอกเหนือจาก กสพท. และมักเรียกสั้นๆว่าหมอรอบ 1 น้องๆ มัธยมตอนปลายต่างให้ความสนใจกันอย่างล้นหลาม นั่นก็เพราะที่ต้องสอบเพียง 2 วิชาเท่านั้น
“นั่นก็คือ น้องๆ ต้องใช้ข้อสอบ BMAT ควบคู่กับข้อสอบ IELTS ในการยื่นหมอรอบ 1 (รอบ Portfolio)”
สถาบันอุดมศึกษาในไทยที่รับคะแนน BMAT
- คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะแพทย์ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร (UK) ที่รับคะแนน BMAT
- Brighton and Sussex Medical School (A100 Medicine)
- Imperial College London (A100 Medicine)
- Keele University (A100 Medicine)
- Lancaster University (A100 Medicine and Surgery and A104 Medicine & Surgery with a Gateway Year)
- University of Manchester Medical School (A106 MBChB Medicine and A104 MBChB Medicine)
- University College London (A100 Medicine)
- University of Cambridge (A100 Medicine)
- University of Leeds (A100 Medicine, A101 Gateway Year to Medicine and A200 Dentistry)
- University of Oxford (A100 Medicine, A101 Graduate Medicine and BC98 Biomedical Sciences)
รูปแบบข้อสอบ BMAT
ข้อสอบ BMAT ถูกออกแบบมาให้ทำในเวลา 2 ชั่วโมง และถูกแบ่งออกเป็น 3 Parts คือ
Part 1. Thinking skills
ในพาร์ทนี้จะเป็นที่วัดทักษะทั่วไป เช่น ทักษะในการแก้ไขปัญหา หรือทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นข้อสอบปรนัย 32 ข้อ ใช้เวลาทำนาน 60 นาที
โดยจะเป็นข้อสอบ Problem Solving (Aptitude Test) จำนวน 16 ข้อ และเป็นข้อสอบ Critical Thinking (หรือที่เรียกกันว่า Critical Analysis) จำนวน 16 ข้อ
2. Scientific Knowledge and Applications
ในพาร์ทนี้จะเป็นข้อสอบที่ครอบคลุมเนื้อหาวิชาการของวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และคณิตศาสตร์ เนื้อหาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นข้อสอบปรนัย 27 ข้อ ใช้เวลาทำนาน 30 นาที
3. Writing Task
ในพาร์ทนี้จะเป็นข้อสอบวัดความสามารถในการเลือก พัฒนา หรือจัดการความคิด และการสื่อสารความคิดออกมาด้วยการเขียนอย่างกระชับได้จะความ และมีประสิทธิภาพ
เป็นการเขียนตอบคำถาม 1 ข้อ โดยเลือกจาก 3 ข้อที่โจทย์ให้มา ใช้เวลาทำนาน 30 นาที
การคิดคะแนน BMAT
- ส่วนที่ 1–2 คะแนนเต็มอยู่ที่ 9.0
แต่ละข้อมี 1 คะแนน มีการแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนออกเป็นสเกล 1-9 โดยผู้เข้าสอบส่วนใหญ่คะแนนจะอยู่ที่ 5.0 ถึง 6.0
- ส่วนที่ 3 (คะแนนเนื้อหา และคะแนนภาษา)
จะมีผู้ตรวจและให้คะแนนสองคน และจะแบ่งการให้คะแนน 2 แบบ 2 ด้าน
ส่วนที่ 1 จะเป็นคะแนนด้านเนื้อหา (สเกล 1-5)
ส่วนที่ 2 จะให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ โดยแบ่งเป็นเกณฑ์ (A-E)
เกณฑ์การให้คะแนนด้านเนื้อหา (สเกล 1-5 คะแนน)
- 1 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนด้วยเนื้อหาที่พอรับได้ แต่ตอบไม่ค่อยตรงคำถาม อาจมีความลังเลหรือไม่ชัดเจน
- 2 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนที่ค่อนข้างตรงประเด็น แต่อาจมีบางคำหรือบางจุดที่ไม่ชัดเจน
- 3 คะแนน หมายถึง การเขียนแสดงการตอบคำถามได้พอใช้ตรงกับทุกมุมมองของคำถาม มีการสร้างเหตุผลโต้แย้ง แต่อาจมีจุดบกพร่องด้านการเชื่อมโยงความคิดหรือจุดที่มองข้ามไป
- 4 คะแนน หมายถึง การเขียนที่มีข้อบกพร่องน้อย ตรงประเด็นทุกมุมมอง มีการใช้สำนวนการโต้แย้งได้ดี ใช้โครงสร้างประโยคแสดงออกถึงความคิดได้อย่างมีเหตุผล
- 5 คะแนน หมายถึง การเขียนได้ดีเยี่ยมชัดเจนไร้จุดบกพร่อง ตอบตรงประเด็นทุกมุมมอง มีการใช้โครงสร้างประโยคแสดงออกถึงความคิดได้ดีเยี่ยม ชัดเจน โน้มน้าวได้ดี มีจุดกว้างแคบความคิด สังเคราะห์ข้อมูลหรือสรุปได้ดี
Note: โดยส่วนใหญ่คะแนนด้านเนื้อหา เต็ม 5.0 ผู้เข้าสอบมักจะได้คะแนนที่หลากหลายตั้งแต่ 3.0, 3.5, 2.5, 2.0 และ 4.0
เกณฑ์การให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ (A-E)
- Band A หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษได้ดี โดยดูจากการอ่านได้ลื่นไหล โครงสร้างประโยคดี เลือกใช้ศัพท์ดี ไวยากรณ์ใช้ถูกต้องและเหมาะสม การสะกดคำและเครื่องหมายวรรคตอนดี มีข้อผิดพลาดน้อย
- Band C หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษได้พอใช้ อาจมีจุดอ่อนด้านประสิทธิภาพการใช้ภาษาอังกฤษ โดยดูจาก อ่านได้พอลื่นไหล ไม่อ่านยาก มีการใช้โครงสร้างประโยคง่ายๆ ใช้ศัพท์ระดับกลาง ไม่ง่ายเกินไป ใช้ไวยากรณ์ได้เหมาะสม สะกดคำและใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้พอใช้ มีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง
- Band E หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างอ่อน ต้องหลายรอบถึงจะเข้าใจ มีจุดบกพร่องในประโยคหรือย่อหน้า มีการใช้ศัพท์ง่ายๆบ่อย ใช้ไวยากรณ์ผิด มีจุดบกพร่องด้านการสะกดคำและเครื่องหมายวรรคตอน รวมไปถึงจุดบกพร่องที่เห็นได้ใช้
Note: เกณฑ์การให้คะแนนด้านภาษา จะรวมเอาคะแนนจากกรรมการทั้ง 2 คน ตัวอย่างเช่น กรรมให้คะแนน AA = A, AC=B, CC=C, CE=D, EE=E แปลงออกมาเป็น A, B, C, D, E ตามลำดับ
ตารางรอบในการ “สอบ BMAT”
สำหรับรอบสอบ BMAT นั้นตามปกติจะเปิด 3 รอบต่อปี โดยน้องสามารถเลือกสอบได้เพียง 1 รอบต่อปีเท่านั้น โดยปกติอยู่ช่วงประมาณ กันยายน ตุลาคม หรือพฤศจิกายน
ทั้งนี้น้องๆ นักเรียนควรตรวจสอบเงื่อนไขของแต่ละคณะก่อนนะคะ ว่าแต่ละคณะของแต่ละมหาวิทยาลันนั้นรับผลคะแนนจากรอบไหน (โดยมากจะรับรอบเดือนกันยายน)
ค่าใช้จ่ายในการ “สอบ BMAT”
ค่าสอบจะตัดผ่านบัตรเครดิตอยู่ที่ £83 (ข้อมูลปี 2020) หรือที่ประมาณ 3,200 บาทขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน
Note: ถ้าหากว่าสมัครสอบไม่ทันจะมีรอบ Late Registration ซึ่งเก็บเงินค่าธรรมเนียมแพงกว่าค่ะ
การสมัคร “สอบ BMAT”
สมัครที่
อ้างอิงศูนย์รับสมัคร
ท้ายสุดนี้ อย่าลืมลองแวะดู EFL Learning Centre มีคอร์สสอนภาษาอังกฤษให้เลือกหลากหลายสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัยเลยค่ะ แน่นอนว่าเรามีติวภาษาอังกฤษสำหรับน้องๆ ที่เตรียมสอบ IELTS และ BMAT ที่ต้องสอบเป็นภาษาอังกฤษด้วยนะ
หากยังไม่มั่นใจว่าน้องๆ ควรจะเลือกคอร์สเรียนภาษาอังกฤษแบบไหนดี เพื่อให้เหมาะกับตัวเราเองมากที่สุด สามารถติดต่อสถาบันได้ตามช่องทางต่างๆ เพื่อปรึกษาวางแผนการเรียนได้ตลอดเวลา เรายินดีพร้อมให้คำปรึกษาและบริการค่ะ